โรครองช้ำ (Plantar fasciitis)

Last updated: 11 ธ.ค. 2562  |  7148 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรครองช้ำ (Plantar fasciitis)

โรครองช้ำ (Plantar fasciitis)

        คุณเคยรู้สึกปวดใต้ฝ่าเท้าขณะเดินหรือไม่? ใครที่ตอบใช่ นั่นอาจหมายถึงคุณกำลังเป็นโรครองช้ำ อาการปวดเท้าจากโรครองช้ำไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักตัวในขณะที่ยืน เดิน หรือวิ่ง เมื่อเกิดการบาดเจ็บแล้วจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้งาน ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรัง 

        โรครองช้ำ คืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับพังผืดใต้ฝ่าเท้า ส่งผลให้มีอาการปวด ซึ่งโรครองช้ำจะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่การบาดเจ็บจะค่อยๆ สะสมทีละนิดจนเกิดการอับเสบ





ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรครองช้ำ

  • น้ำหนักตัวที่เยอะเกินไป
  • การออกกำลังกายบางชนิด เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิค
  • การยืนหรือเดินนานเกินไป
  • ลักษณะการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม
  • โครงสร้างเท้า เช่น เท้าแบน อุ้งเท้าสูง ทำให้รูปแบบการเดินผิดปกติ
  • ภาวะกระดูกงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า
  • ภาวะเอ็นร้อยหวายตึงตัว
  • ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อลีบเนื่องจากความเสื่อมตามอายุ


อาการของโรครองช้ำ

        ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในหรือตามแนวแถบของพังผืดในตอนเช้า อาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า หรือปวดแบบโดนของร้อน ทำให้เวลาที่วางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง อาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ หากยืนเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ





การรักษา

การยืดกล้ามเนื้อ
     1. กล้ามเนื้อน่อง
ยืดให้รู้สึกตึงบริเวณน่อง ค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง  ทำ 5ครั้ง เช้าและเย็น

     2. พังผืดใต้ฝ่าเท้า
ยืดค้างไว้ประมาณ15 วินาที/ครั้ง 5 ครั้งก่อนลุกขึ้นเดิน นอกจากนี้ยังสามารถใช้เท้าคลึงลูกบอลหรือขวดน้ำได้อีกด้วย ทำประมาณ 3-5 นาที 2 ครั้ง/วัน



การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท้า
การหยิบผ้าขนหนูด้วยนิ้วเท้า วางผ้าขนหนูผืนเล็กลงบนพื้น จากนั้นใช้นิ้วเท้าขยุ้มผ้าขนหนู ทำซ้ำ 10 ครั้ง 1-2 ครั้ง/วัน 




การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

เพื่อลดการอักเสบและลดปวด ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound therapy) หรือช็อคเวฟ (Shock-wave therapy)


การใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้า (foot orthosis)

เพื่อปรับอุ้งเท้าให้ปกติหรือรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า


การกินยาหรือฉีดยาลดปวด

การฉีดยา จะฉีดบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า


การผ่าตัด

จะใช้ในกรณีที่รักษาแบบ conservative มานานกว่า 9 เดือนแล้วไม่ได้ผล



        จะเห็นได้ว่าการรักษาโรครองช้ำมีหลากหลายวิธี แต่การรักษาที่นิยมมากและให้ผลดีคือ การทำกายภาพบำบัดและการบริหารร่างกายด้วยตนเอง ซึ่งต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการรักษา โดยทางศูนย์อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม มีบริการกายภาพบำบัด และพร้อมให้คำปรึกษาฟรี สนใจติดต่อ โทร 099-4414690, 086-9558889

 ปรึกษาปัญหา สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้