เหนื่อยไหม กับการรับมือผู้สูงอายุสุดดื้อ!!

Last updated: 4 ธ.ค. 2562  |  41219 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เหนื่อยไหม กับการรับมือผู้สูงอายุสุดดื้อ!!

คงเป็นปัญหาของลูกหลานหลายๆคน ที่ต้องเผชิญกับความดื้อของผู้สูงอายุ ยิ่งเจอผู้สูงอายุที่เข้าใจยากแล้ว เขายิ่งเหมือนเอาแต่ใจตัวเองหนักขึ้น แรกๆ ลูกหลานอาจดูไม่คิดอะไร แต่นานๆไป อาจเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย หรือ ภาวะความเครียดขึ้นมาได้ หากเจอผู้สูงอายุมีอาการดื้อแบบนี้

- ลูกให้ปฎิบัติตามที่หมอสั่ง จะไม่ฟัง

- ฟังคนอื่นมากกว่าลูกตัวเอง และเล่าปัญหาที่เกินจริงให้คนอื่นฟัง

- เริ่มเรียกร้องความสนใจ ต้องการหลายๆอย่างพร้อมกัน

- กินยากมากขึ้น อาหารต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

- จุกจิก ขี้บ่น หงุดหงิดง่าย ใช้ถ้อยคำต่อว่าตัดพ้อบ่อยๆ

- ไม่ยอมกินยาตามสั่ง

- บางทีเก็บตัว ไม่ค่อยพูดจา ไม่ให้ความร่วมมือ

- และอีกสารพัดความดื้อ ที่แต่ละบ้านอาจเจอผู้สูงอายุประเภทนี้ไม่เหมือนกัน

 

แล้วเราควรปฎิบัติกับท่านอย่างไร เมื่อเจอกับความดื้อแบบนี้???

1. ให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น เพราะคนวัยนี้ จะชอบแอบเก็บอาการคิดมากไว้ กลัวว่าไม่มีใครสนใจ เลยเกิดอาการน้อยใจ ซะจนแสดงออกมาเป็นความดื้อบ่อย แต่ถ้าอยากให้ผู้สูงอายุมีท่าทีดื้อลดลง ต้องเพิ่มคุณค่าให้กับท่าน ดูมีความสำคัญ ด้วยการเข้าไปพูดคุยเชิงขอคำปรึกษาบ่อยๆ ให้ท่านรู้สึกเป็นผู้ใหญ่ของบ้านมากขึ้น

2. ไม่ตามใจมากเกินไป จริงอยู่ว่า ผู้สูงอายุที่ดื้อ เราควรจะยอมท่านเสมอ แต่ไม่ควรจะยอมตามใจทุกเรื่อง บางอย่างถ้ามันมีผลกระทบโดยตรงทางร่างกาย ก็คงต้องบอกท่านให้เข้าใจ เช่น ถ้าผู้สูงอายุไม่ยอมทานยา เราควรชี้แจงผลเสียให้ฟังว่าต้องทาน ไม่งั้นจะไม่หายสักที และอาจใช้คำพูดให้ท่านรู้สึกดีว่า อยากให้อยู่ด้วยกันไปนานๆนะ

3. ระวังคำพูดและท่าทีการแสดงออก ควรแสดงออกทางการกระทำด้วยคำรัก ไม่ควรต่อว่า ตำหนิผู้สูงอายุด้วยคำพูดแรงๆ ให้ความสำคัญกับท่าน ด้วยการเข้าไปพูดคุยก่อนเสมอ ชวนทานข้าวบ่อยๆ เพื่อละลายพฤติกรรม

4. ชวนคุยเรื่องที่ผู้สูงอายุภูมิใจที่สุดในชีวิต เราอาจหาเรื่องมาคุย จากประวัติของท่านในอดีต ที่ท่านเคยทำสิ่งใดแล้วประสบความสำเร็จน่าภาคภูมิใจ  ทำให้ดูน่าชื่นชมและภูมิใจไปด้วย เพื่อลดความดื้อลง

5. พาไปเที่ยวข้างนอก ผู้สูงอายุบางคนอาจไม่ชอบอยู่แต่ในบ้าน เลยกลายเป็นดื้อ จึงควรหาเวลาชวนไปเที่ยวข้างนอกบ้าง ที่สำคัญควรเป็นสถานที่เที่ยว ที่ท่านเคยไปและชื่นชอบ เพื่อให้เกิดรู้สึกดีขึ้นมาได้



ลูกหลานควรหาวิธีดูแลใจตัวเองให้สงบ

            แน่นอนว่าการดูแล เอาใจใส่ผู้สูงอายุที่ดื้อสุดฤทธิ์ ย่อมทำให้เกิดภาวะความเครียด หรือโรคซึมเศร้าตามมาได้ อีกทั้งยังมีความเหนื่อยหน่ายตามมา ทั้งกายและใจ วิธีจัดการก็คือ เลือกที่จะปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง มองท่านด้วยความรัก ปรับความคิดใหม่ว่าการได้ดูแลท่านเป็นสิ่งที่ดี และควรแบ่งเวลาออกไปพักผ่อน ไปเที่ยว ไปเจอสังคมบ้าง อาจฝากผู้สูงอายุให้ผู้อื่นดูแลแทนบางช่วงเวลา รวมถึงหากิจกรรมภายในบ้าน ที่ทำแล้วสนุก ไม่คิดฟุ้งซ่าน เช่น ขายของออนไลน์, ดูหนัง ฟังเพลงยามว่าง, ปลูกต้นไม้ เป็นต้น

          แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น และรู้สึกเหนื่อยจริงๆ ลองมองหา Nursing Home หรือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อขอคำแนะนำ ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแล และยังสามารถฝากผู้สูงอายุให้ดูแล พร้อมมีทีมงานที่เข้าใจผู้สูงอายุ และช่วยบำบัดร่างกาย จิตใจของผู้สูงอายุให้หายดื้อได้ ก็อาจทำให้ชีวิตเครียดน้อยลง มีความสุขมากขึ้น จิตใจสงบกว่าเดิม


 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้