ข้อแตกต่างของผู้สูงอายุกับวัยรุ่น

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  22336 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้อแตกต่างของผู้สูงอายุกับวัยรุ่น

ข้อแตกต่างของผู้สูงอายุกับวัยรุ่น

          ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายในแต่ละคนจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน และไม่เท่ากัน สภาพความเสื่อมถอยของร่างกายและจิตใจมีมากในระยะนี้ เช่น ขาดความคล่องแคล่วว่องไว ความจำเสื่อม ความคิดความอ่านช้าลง สภาพร่างกายเสื่อมถอย หูตึง ตามัว ผมหงอก เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ส่งผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง แต่ความเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้ที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุจะต้องรับรู้และยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพความเสื่อมถอยของร่างกายผู้สูงอายุ ได้แก่


  1. ผม – เป็นสิ่งแรกของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดจากสีเดิมเปลี่ยนเป็นสีขาว แห้งและร่วงได้ง่าย เนื่องจากเนื้อเยื่อหนังศีรษะเหี่ยวย่น การไหลเวียนโลหิตลดลง เส้นผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และภาวะเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของสีผมเป็นข้อบ่งชี้อันหนึ่งเท่านั้นที่จะบอกถึงความเสื่อมของร่างกาย แต่จะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย
  2. ผิวหนัง – เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อเยื่อต่างๆจะขาดความตึงตัว เนื่องจากน้ำในเซลล์ลดลง  น้ำมันใต้ผิวหนังมีน้อย เลือดมาเลี้ยงบริเวณผิวหนังน้อยลง ทำให้บริเวณผิวหนังเริ่มเหี่ยวแห้ง หยาบ การลดจำนวนไขมันใต้ผิวหนังทำให้ผิวหนังหย่อนยาน ปรากฏรอยย่นชัดเจน ฉะนั้นคนวัยนี้จึงรู้สึกหนาวง่าย เพราะไขมันใต้ผิวหนังน้อยลง
  3. กระดูก – วัยผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่กระดูกเปราะง่าย ถ้าได้รับอันตรายเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ เนื่องจากการสลายตัวของแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น และอีกสาเหตุหนึ่งคือการขาดวิตามินดี เพราะผู้สูงอายุมักไม่ชอบแสงแดด จะอยู่แต่เพียงภายในบ้าน และการกินอาหารไม่เพียงพอเพราะมีปัญหาในเรื่องการเคี้ยว โอกาสขาดวิตามินดีจึงมีสูง เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป หมอนรองของกระดูกสันหลังจะกร่อนและแบนลงมากทำให้หลังโก่งได้
  4. เล็บ – เล็บจะหนา แข็ง และเปราะ เนื่องจากการไหลเวียนโลหิตส่วนปลายน้อยลง ทำให้การจับตัวของแคลเซียมบริเวณเล็บลดลง
  5. กล้ามเนื้อ – ร่างกายประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สำคัญ คือกล้ามเนื้อลาย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา เมื่อกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงมีความเสื่อมสภาพเกิดขึ้น จะมีผลทำให้ความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อลดลงไปด้วย กล้ามเนื้ออีกชนิดหนึ่ง คือ กล้ามเนื้อเรียบ เช่น ลำไส้ กล้ามเนื้อชนิดนี้จะเคลื่อนไหวด้วยตนเอง จะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่ากล้ามเนื้อลาย และอาจทำงานปกติดีตลอดวัยสูงอายุก็ได้
  6. หู – การได้ยินจะเริ่มเสื่อม เมื่ออายุ 60 ปี ขึ้นไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของประสาทรับเสียงในหูชั้นใน ทำให้การส่งกระแสประสาทของเสียงไปทางอวัยวะรับการได้ยิน ซึ่งอยู่ในหูเสื่อมไป อาการหูตึงในผู้สูงอายุจะพบมาก เมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป
  7. ตา – ลักษณะตาของผู้สูงอายุจะเล็กลง เพราะจำนวนไขมันของลูกตาน้อยลง หนังตาบนจะตก เนื่องจากการยืดหยุ่นของหนังตาลดลง ตาลึก มีความเสื่อมโทรมของประสาทตา มีความไวต่อแสงน้อยทำให้การมองภาพใกล้ไม่ชัด การยืดหยุ่นของเลนส์เสียไป การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีสายตายาว นอกจากนี้ยังมีวงแหวนขาวที่ขอบตาดำเกิดขึ้น แต่ไม่อันตรายใดๆ และไม่มีผลต่อการมองเห็น
  8. ต่อมเพศทำงานลดลง – ในผู้หญิงรังไข่จะหยุดทำงานทำให้ไม่มีประจำเดือน บางคนจะอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ในผู้ชายก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่น้อยกว่าและช้ากว่าผู้หญิง


          ความเสื่อมถอยตามวัยของผู้สูงอายุอาจไม่ใช่สิ่งที่ใครจะหลีกเลี่ยงได้  แต่สามารถชะลอความเสื่อมที่เกิดขึ้นได้ โดยการดูแลที่เหมาะสมทั้งด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การพักผ่อนให้เพียงพอ  การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหาร ซึ่งทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮมจะมีพยาบาลวิชาชีพคอยให้การดูแล มีนักกายภาพบำบัดคอยแนะนำการออกกำลังกาย และมีนักโภชนาการแนะนำในเรื่องการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ช่วยชะลอวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับบุคคลที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690 ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม ยินดีให้บริการ

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้