สิ่งที่ต้องระวังเวลาป้อนอาหาร

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  3993 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิ่งที่ต้องระวังเวลาป้อนอาหาร

สิ่งที่ต้องระวังเวลาป้อนอาหาร



          วิธีป้อนอาหารผู้สูงอายุ  ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องรู้ เพราะการกินไม่ใช่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขในการใช้ชีวิตด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักใช้ชีวิตอยู่บนเตียง หรือรถเข็นตลอดทั้งวัน การได้นั่งโต๊ะอาหารหรือร่วมกินอาหารกับคนในครอบครัวจะช่วยให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้ดีขึ้น แต่ผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถที่จะทานอาหารได้ด้วยตนเอง จึงมีความจำเป็นต้องมีคนป้อนอาหารให้กับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ดูแลควรทราบถึงข้อที่ควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดการสำลักอาหาร


การป้อนอาหารบนเตียง

  1. ท่านอนตะแคง – ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างที่เป็นอัมพาต สอดหมอนหรือผ้าขนหนูม้วนเป็นก้อนไว้ใต้ศีรษะให้สูงขึ้นเพื่อกลืนได้สะดวก
  2. ท่านอนหงาย – ปรับหัวเตียงเพื่อยกลำตัวท่อนบนขึ้น แล้วสอดหมอนไว้ใต้ศีรษะเพื่อให้คางกดลง
  3. ท่าทางที่เหมาะสมกับการกินอาหาร
  4. ตักอาหารพอดีคำ ถามผู้สูงอายุว่าอยากกินอะไร แล้วตักมาครึ่งช้อน
  5. ยื่นช้อนไปให้อยู่ต่ำกว่าปากของผู้สูงอายุ วางอาหารบริเวณกลางลิ้น
  6. ยกข้อมือขึ้นแล้วดึงช้อนออกจากปาก ให้ลากช้อนออกจากริมฝีปากแล้วยกข้อมือขึ้น
  7. สิ่งที่ต้องระวังขณะป้อนอาหาร 

          ผู้ดูแลต้องนั่งข้างๆ ตัวผู้สูงอายุและคอยช่วยป้อนอาหาร และเรื่องอื่นๆ บนโต๊ะอาหาร ซึ่งผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกหรือโรคสมองเสื่อมจะกินอาหารด้วยตนเองไม่ได้ ผู้ดูแลจึงต้องป้อนอาหารให้ โดยเริ่มจากการนั่งข้างๆ ผู้ป่วยและกินอาหารไปด้วยกัน พร้อมกับคอยสังเกตจังหวะการกินของอีกฝ่ายและคอยดูแลจนเสร็จสิ้น
  1. การนั่งข้างๆ ตัวผู้ป่วยทำให้อยู่ระดับเดียวกันและมองเห็นจานข้าวของอีกฝ่ายได้ชัดเจน 
  2. จัดสำรับอาหารเหมือนทำให้รู้ลำดับในการป้อนและกินได้รวดเร็ว
  3. ขณะป้อนอาหารให้โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
  4. การป้อนอาหารให้ผู้สูงอายุอัมพาตครึ่งซีก ผู้ดูแลควรนั่งข้างที่ร่างกายเป็นปกติ


สิ่งที่ไม่ควรทำ

  1. ยืนป้อนอาหาร – ผู้ดูแลป้อนอาหารได้ลำบาก เพราะช้อนอยู่สูงกว่าปากผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุโน้มตัวไปข้างหน้าไม่ได้ จึงกลืนอาหารได้ลำบาก
  2. นั่งตรงข้ามกัน – ตำแหน่งการนั่งแบบนี้ดูเหมือนว่าผู้ดูแลจะเห็นลักษณะของผู้สูงอายุได้ชัดเจน แต่ความเป็นจริงแล้วการนั่งประจันหน้ากันแบบนี้อาจทำให้อีกฝ่ายอึดอัดจนกินอาหารไม่ลงได้


          สามารถพูดได้ว่าทุกขั้นตอนในการดูแลผู้สูงอายุล้วนมีความสำคัญ  การป้อนอาหารก็เช่นเดียวกัน หลายๆคนอาจคิดไม่ถึงว่าการป้อนอาหารจะมีรายละเอียดมากขนาดนี้ แต่หากอ่านและทำความเข้าใจแล้วจะรู้ว่าทุกขั้นตอนนั้นเป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นหลัก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลทุกท่านควรที่จะปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่เบอร์ 099-4414690 ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม ยินดีให้บริการ

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้