Last updated: 10 ธ.ค. 2562 | 1646 จำนวนผู้เข้าชม |
การดูแลผู้สูงอายุเมื่อเป็นลมแดดและภาวะขาดน้ำ
ภาวะลมแดด
ปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพอากาศค่อนข้างร้อน เนื่องจากภาวะโลกร้อน (Global Thermal Warming) ความร้อนยิ่งเพิ่มทวีคูณ ทำให้ผู้คนเกิดการเจ็บป่วยได้หลายโรค และโรคหนึ่งที่พบได้ในช่วงหน้าร้อนคือ “โรคลมแดด” หรือทางการแพทย์เรียกว่า “ฮีทสโตรค” (Heat Stroke) ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด โดยเสียชีวิตในบ้านพักเนื่องจากอากาศร้อนและไม่ถ่ายเท
ลมแดด เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถจัดการลดอุณหภูมิที่สูงมากให้เป็นปกติได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกายตามมา เมื่อผู้สูงอายุอยู่กลางแดดหรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิเป็นเวลานานจะเป็นลมแดดได้ง่าย เนื่องจากปรับตัวตามสภาพอากาศได้ช้ากว่าคนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 28 องศาเซลเซียส
1.1 อาการ
มีอาการตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย กระหายน้ำ มีเหงื่อออกมา หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ หน้าแดง ไปจนถึงมีอาการมากและเป็นอันตราย ได้แก่ อาการกระสับกระส่าย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ไม่มีเหงื่อ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำมาก จนหมดสติ ชักและความดันโลหิตต่ำ สุดท้ายอาจเกิดไตวายและเสียชีวิตได้
1.2 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ปลดเสื้อผ้าและทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง เมื่อผู้สูงอายุเป็นลมแดดให้รีบตรวจดูทันทีว่ายังมีสติอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ ให้เรียกรถฉุกเฉินทันที แต่ถ้ายังมีสติดีอยู่ให้ย้ายไปในห้องแอร์หรือที่เย็นๆ คลายเสื้อผ้าให้หลวม และลดอุณหภูมิร่างกายให้เร็วที่สุด โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวตามข้อพับ แขน ขา ซอกคอ ใช้พัดเป่าระบายความร้อน หากรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำธรรมดา / เครื่องดื่มเกลือแร่
1.3 ภาวะแทรกซ้อนของโรคลมแดด
โรคลมแดดทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากมาย โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอาการและหากได้รับการช่วยเหลือล่าช้า อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองหรืออวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไตวายหรือหัวใจวาย และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ นอกจากนั้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหรือรักษาได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
1.4 การป้องกัน
หลีกเลี่ยงในการอยู่ในที่ที่มีอาการร้อนเป็นเวลานาน
ดื่มน้ำให้เพียงพอ คนปกติควรดื่มน้ำ 6 – 8 แก้วต่อวัน
ในระหว่างที่ออกแดดควรเตรียมน้ำดื่มไปด้วย
ควรใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศได้ดี
1.5 การออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประจำ ถ้ามือใหม่ก็ออกกลางแจ้งให้ได้ 30 นาที/วัน นาน 1 - 2 สัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอ และคุ้นเคยกับกิจกรรมนั้น ที่ทำเป็นอย่างดี
บุคคลที่ควรเพิ่มความระมัดระวังได้แก่ เด็ก คนชรา คนอ้วนเพราะไขมันจะกันความร้อนทำให้การระบายความร้อนไม่ดี และเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์ ทั้งก่อนหรือขณะออกกำลังกาย งดปัจจัยภายนอกที่ทำให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน
หากท่านใดที่ต้องทำกิจกรรมที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เป็น โรคลมแดดได้ ดังนั้นควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดโรคลมแดด สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน
ภาวะขาดน้ำ
ปกติร่างกายของคนเราจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 60 % แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะเหลือ 50 % ศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำจะเสื่อมสภาพ จึงทำให้รู้สึกตัวช้าว่าร่างกายขาดน้ำแล้ว ดังนั้นผู้สูงอายุจะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำถ้าไม่ดื่มน้ำเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เลือดข้นขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดในสมองและหัวใจตีบได้
2.1 อาการ
อาการเริ่มต้นได้แก่ ตาลาย วิงเวียน ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย เป็นตะคริว เป็นต้น เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีผิวหนังแห้งและหยาบกระด้าง ตาคล้ำ ปัสสาวะน้อยลง จนในที่สุดเมื่อมีอาการรุนแรงจะมีอาการตัวสั่น ชักเกร็ง ความดันต่ำ และหมดความรู้สึก
2.2 การปฐมพยาบาล
คล้ายกับลมแดด กรณีดื่มน้ำเองได้ ให้ค่อยๆจิบอย่าดื่มเร็วเกินไปอาจสำลักได้ ถ้าดื่มเองไม่ได้ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
2.3 ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ำ
ตะคริวแดด หมดแรงเพราะแดด หรือโรคลมแดด หากดื่มน้ำไม่เพียงพอในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ปัญหาที่ไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต หรือไตวาย หากเกิดภาวะขาดน้ำบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ชัก เป็นผลมาจากแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือทำให้หมดสติได้ ภาวะช็อกจากปริมาตรเลือดต่ำ ส่งผลทำให้ความดันเลือดและจำนวนออกซิเจนในร่างกายลดต่ำลง เป็นภาวะที่รุนแรงและทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
2.4 การป้องกัน
ดื่มน้ำมาก ๆ ทั้งก่อนและหลัง หรือในช่วงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย โดยดื่มบ่อย ๆ หรือทุก 15-20 นาที หรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หากมีการออกกำลังกายต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมง ควรหยุดพักจากการออกกำลังกาย หากพบว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกเหนื่อยมาก และเลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับการทำกิจกรรม ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว โดยเฉพาะในวันที่มีการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเบียร์และไวน์มากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ
หากผู้สูงอายุหรือคนที่อยู่ในการดูแลของเรามีภาวะใด ภาวะหนึ่งข้างต้น ควรเริ่มให้การดูแลมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนจากภาวะการขาดน้ำ สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน
24 ต.ค. 2565
24 ต.ค. 2565
24 ต.ค. 2565
24 ต.ค. 2565