การดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้สูงอายุ

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  780 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้สูงอายุ

การดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้สูงอายุ



          ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรผู้สูงอายุ มักมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงต้องการผู้ดูแลในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุโดยสมาชิกในครอบครัว อาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ อาจทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียด และส่งผลต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ

          ผู้ดูแลที่ไม่เป็นทางการ มักจะเป็นลูกหลานหรือสามี/ภรรยา ส่วนใหญ่จะดูแลทุกวันโดยไม่มีวันหยุด ต้องใช้เวลาและแรงงานในการดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนในการดำเนินชีวิตประจำวัน และบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแล ทำให้ผู้ดูแลเกิดความเหนื่อยล้า รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ อารมณ์ และความเครียดได้ ระดับความเครียดของผู้ดูแลมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของผู้ดูแล เช่น ระดับการพึ่งพิงผู้อื่น หรือการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ


วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้สูงอายุ

         การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงเป็นหน้าที่ระยะยาวที่ผู้ดูแลต้องใช้พลังกายและใจอย่างมากในการช่วยเหลือให้พวกเขาใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ผู้ดูแลเองรู้สึกเครียด อ่อนล้า และเหน็ดเหนื่อยเกินไป หากไม่ได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องอาจทำให้ประสิทธิภาพการดูแลลดลง

 
การตรวจสอบระดับความเครียดจากการดูแลผู้สูงอายุ

         การทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุมาเป็นเวลานานหลายๆปี อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว หากยังคงฝืนต่อไปอาจจะทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเบื่อหน่ายและทุกข์ทรมานกับสิ่งที่ต้องทำ ฉะนั้นถ้ารู้สึกเหนื่อยล้าก็ให้ลองตรวจสอบระดับความเครียดดังต่อไปนี้

  1.  _______ดูแลผู้สูงอายุคนเดียวเกือบทุกอย่าง
  2.  _______คิดอยู่เสมอว่าตัวเองต้องพยายามทำให้ได้
  3.  _______เมื่อเกิดปัญหาไม่รู้จะปรึกษาใคร
  4.  _______ไม่อยากให้คนอื่นเข้าบ้าน และอยากดูแลด้วยตัวเองเทานั้น
  5.  _______ไม่มีคนรับฟังปัญหาอยู่เคียงข้าง
  6.  _______แทบไม่รู้วิธีที่ช่วยให้การดูแลง่ายขึ้นเลย
  7.  _______กังวลว่าจะต้องดูแลแบบนี้ตลอดไป
  8.  _______ไม่ค่อยออกไปข้างนอกเพราะทิ้งบ้านไว้ไม่ได้
  9.  _______ทำงานอดิเรกและพบปะเพื่อนฝูงน้อยลง
  10.  _______แทบไม่ได้ดูแลลูกๆเลย
  11.  _______คนในครอบครัวและญาติพี่น้องไม่ให้ความช่วยเหลือ
  12.  _______คนรอบข้างไม่เข้าใจภารกิจการดูแลผู้สูงอายุ 


   
          ผู้ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลร่างกาย และความรู้เรื่องโรคต่างที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่แล้วนั้น ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมีความเข้าใจในข้อจำกัดและเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ต้องระลึกเสมอว่าผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่ผ่านประสบการณ์ในการใช้ชีวิตผ่านช่วงวัยรุ่น และวัยต่างๆมาก่อน การเคารพนับถือและให้เกียรติในทุกการกระทำจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละลาย เพราะในอนาคตตัวเราเองก็ต้องก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุเช่นเดียวกัน สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้