โรคกระดูกพรุน
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกบางมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีปริมาณแร่ธาตุในกระดูกลดลง ร่วมกับมีความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงเปราะและแตกหักได้ง่าย มักพบการหักที่บริเวณกระดูกข้อมือ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่มีภาวะปัจจัยเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงจะประกอบด้วย- อายุที่มากขึ้น เนื่องจากแคลเซียมในกระดูกลดลงทำให้เนื้อกระดูกบางลง
- มักเกิดในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย เนื่องจากความหนาแน่นของมวลกระดูกในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตเจนจะลดลงอย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วตาม
- ชาติพันธุ์ โดยเฉพาะผู้หญิงผิวขาวและผู้หญิงเอเชีย
- .พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ขาดสารอาหารสำหรับสร้างกระดูก น้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐาน
- สูบบุหรี่เป็นประจำ เสพติดแอลกอฮอล์ ดื่มชา กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม ในปริมาณมาก
- การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์อาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงมากเกินไป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน ความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกทรุดตัวและอาการปวดจะส่งผลให้เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด มีความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง
การป้องกัน- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ควรใช้แรงหรือออกกำลังกายที่กระทบกระเทือนต่อข้อมากเกินไปเพราะอาจเป็นอันตรายต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการ
- แคลเซียม การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอจำเป็นในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ จะเกิดภาวะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
- วิตามินดี มีหน้าที่ควบคุมภาวะสมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด โดยทำงานเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียมผ่านทางลำไส้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสะสมแร่ธาตุในกระดูก
- โปรตีน การบริโภคโปรตีนน้อยเกินไปในช่วงเด็กและวัยรุ่นจะส่งผลให้กระบวนการสร้างและเพิ่มมวลกระดูกให้จนถึงจุดสูงสุดเกิดขึ้นไม่เต็มที่ การบริโภคโปรตีนน้อยเกินไปในผู้สูงอายุ จะส่งผลให้มีการสูญเสียมวลกระดูกมากและเร็วกว่าผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน
- สารอาหารอื่นที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก มีด้วยกันหลายตัว คือ
วิตามินเค พบในผักใบเขียวชนิดต่างๆ ผักโขม กะหล่ำ ใบคะน้า ตับ ชีส และผลไม้แห้ง
แมกนีเซียม พบในผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว เม็ดธัญพืช ปลา ผลไม้แห้ง เมล็ดข้าวที่ไม่มีการขัดสี สังกะสี พบในเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง เนื้อไก่ - รับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้าเพื่อเพิ่มวิตามินดีในเลือด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีนอย่างชาหรือกาแฟ
- ไม่สูบบุหรี่และไม่ใช้สารเสพติด
- ระมัดระวังการใช้ยาโดยเฉพาะกลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
การดูแล
การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด คือการทำให้กระดูกมีความแข็งแรง ถ้าเป็นไปได้ควรเริ่มทำตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการเสริมสร้างมวลกระดูกให้มีค่าความหนาแน่นสูงสุดในช่วงก่อนอายุ 30 ปี (หากพ้นวัยนี้ไปแล้วร่างกายจะไม่สามารถสะสมเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นได้แล้ว เนื่องจากกระบวนการสลายตัวของกระดูกจะเกิดขึ้นมากกว่าการสร้าง เราจึงทำได้เพียงแค่รักษาเนื้อกระดูกที่มีอยู่ไม่ให้ลดไปจากเดิม) เพื่อสะสมต้นทุนให้กระดูกแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดีในวัยผู้ใหญ่ต่อไป ลดโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก หลังจากความหนาแน่นของมวลกระดูกเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ เราควรเสริมแคลเซียมให้เพียงพอเพื่อทดแทนการสลายของมวลกระดูกและรักษาเนื้อกระดูกที่มีอยู่ เพราะเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยสูงอายุ มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมทั้งกล้ามเนื้อหลัง
กล้ามเนื้อเหยียดเข่า
- นั่งตัวตรง ศีรษะตรง มองไปข้างหน้า วางมือบนหน้าขา เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
- เหยียดขาขึ้นทีละข้างจนเข่าตรง กระดกส้นเท้าขึ้นพร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาค้างนานนับ 1-5
- ทำซ้ำอีกข้าง
กล้ามเนื้องอเข่า
- ยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า ใช้มือข้างตรงข้ามกับขาข้างที่จะออกกำลังกายเกาะเก้าอี้
- งอเข่าขึ้นทีละข้าง เกร็งค้างนับ 1-5
- ทำซ้ำอีกข้าง
กล้ามเนื้อกางสะโพก- ยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า ใช้มือข้างตรงข้ามกับขาข้างที่จะออกกำลังกายเกาะเก้าอี้
- กางขาไปด้านข้างทีละข้าง เกร็งค้างนับ 1-5
- ทำซ้ำอีกข้าง
กล้ามเนื้อกางสะโพก- ยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า ใช้มือข้างเดียวกับขาข้างที่จะออกกำลังกายเกาะเก้าอี้
- งอขาไปด้านหน้าทีละข้าง เกร็งค้างนับ 1-5
- ทำซ้ำอีกข้าง
- ถ้าปล่อยมือ และหลับตาด้วย จะเป็นการฝึกการทรงตัวด้วยวิธีหนึ่ง
กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก- ยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า ใช้มือ 2 ข้างเกาะเก้าอี้
- กางขาไปด้านหลังทีละข้าง เกร็งค้างนับ 1-5
- ทำซ้ำอีกข้าง
- ถ้าปล่อยมือ และหลับตาด้วย จะเป็นการฝึกการทรงตัวด้วยวิธีหนึ่ง
กล้ามเนื้อกระดกข้อเท้า- ยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า ใช้มือเกาะเก้าอี้
- กระดกข้อเท้าลงทั้ง 2 ข้าง ดันตัวขึ้นพร้อมทั้งเกร็งค้างนับ 1-5
กล้ามเนื้อแอ่นหลัง- นอนคว่ำ ใช้หมอนรองใต้ท้องและสะโพก ใช้ผ้าม้วนเล็ก ๆ รองหน้าผาก
- มือทั้ง 2 ข้างวางแนบลำตัว เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
- เกร็งกล้ามเนื้อแอ่นหลังขึ้นจนศีราะอยู่ในแนวระนาบ โดยหลังไม่แอ่นมากเกินไป เกร็งค้างนับ 1-5
การยกน้ำหนักแขน- ยืนก้าวเท้าข้างตรงข้ามกับมือที่ถือตุ้มน้ำหนักไปข้างหน้า งอเข่าเล็กน้อย
- ใช้มือเกาะเก้าอี้ มืออีกข้างยกน้ำหนักไปข้างหลัง เกร็งค้างไว้ชั่วครู่ แล้วปล่อยแขนลง
- ทำซ้ำอีกข้าง
โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากการรักษาต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา โรคกระดูกพรุนพบมากในสตรีวัยหมดประจําเดือนมากกว่าเพศชายและสตรีวัยอื่นๆ สาเหตุสําคัญของโรคกระดูกพรุนจากฮอร์โมนเพศตํ่าและยังเกิดจากปัจจัยอื่นๆ สาเหตุสำคัญเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นและการขาดแคลเซียมเป็นเวลานาน กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายขาดการออกกำลังกาย การทำงานที่มีการแบกรับนํ้าหนัก อย่างไรก็ตามการป้องกันที่ดีที่สุดคือการเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรง ป้องกันการขาดแคลเซียม โดยการรับประทานให้เพียงพอ
สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690, 086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา




