การรับมือกับอาการชักในผู้สูงอายุ

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  15850 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรับมือกับอาการชักในผู้สูงอายุ


          อาการชักเป็นอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วและถูกต้อง เนื่องจากอาการชัก ต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดความพิการทางสมองและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีและยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ไดรับการดูแลอย่างถูกต้อง ดังน้ันผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการชักควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอาการและวิธีการรับมือ 


          โรคลมชัก คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดอาการชัก โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุเนื่องจากสมองที่เริ่มเสื่อมลง โดยโรคลมชักนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยให้อาการสงบและไม่มีอาการชักกำเริบได้ หากผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง


อาการโรคลมชัก 

 ผู้ป่วยแต่ละคนอาจเกิดอาการชักได้หลายรูปแบบ อาการชักที่มักพบได้บ่อย ดังนี้

  1. อาการชักเฉพาะส่วน – อาการชักประเภทนี้อาจเกิดขึ้นกับสมองเพียงบางส่วน ทำให้เกิดอาการชักที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเท่านั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 
      อาการชักแบบรู้ตัว ขณะที่เกิดอาการผู้ป่วยจะมีสติครบถ้วน โดยผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ หรือมีความรู้สึกวูบภายในท้อง บ้างก็อาจรู้สึกเหมือนว่าเคยพบเห็นหรือเกิดเหตุการณ์ที่ประสบอยู่มาก่อน ทั้งๆ ที่ไม่เคย 
      อาการชักแบบไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและไม่สามารถจดจำได้ว่าเกิดอาการหรืออาการสงบแล้ว อาการชักชนิดนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ นอกจากนี้ในขณะที่เกิดอาการ ผู้ป่วยจะไม่สามารถรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย

  2. อาการชักต่อเนื่อง – อาการชนิดนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องนานเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป หรือเป็นอาการชักต่อเนื่องที่ผู้ป่วยไม่สามารถคืนสติได้ในขณะที่ชัก ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การรักษาในเบื้องต้นสามารถทำได้โดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนการปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชักชนิดต่อเนื่อง

  3. สาเหตุของโรคลมชัก – ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งเกิดอาการโรคลมชักโดยไม่ทราบสาเหตุ และในกลุ่มที่สามารถระบุสาเหตุได้ มักเกิดจากการที่สมองถูกกระทบกระเทือน ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมีที่ถูกเรียกว่าสารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหาย อาจทำให้สมองทำงานผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก



การรับมือกับผู้มีอาการชัก 

          หากพบผู้มีอาการชักควรรีบจับผู้ป่วยนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อป้องกันไม่ให้สำลักเศษอาหารเข้าไปในปอด จากนั้นปลดเสื้อผ้าให้หลวม เคลียร์สถานที่ให้โปร่ง โล่ง สบาย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกมากขึ้น ไม่ควรเอาวัตถุใดๆสอดในปากผู้ป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้กัดลิ้น  เพราะจะทำให้ปากและฟันของผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหรืออุดกั้นทางเดินหายใจ หากผู้ป่วยรู้สึกตัวให้จัดมาอยู่ในท่านั่งที่หายใจสะดวก เมื่อฟื้นตัวดีแล้วให้รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด


การรักษาโรคลมชัก

          จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย บางกรณีสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีหลายรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำได้เพียงยับยั้งไม่ให้เกิดอาการชักด้วยการรับประทานยาควบคุมอาการ การรักษาโรคลมชัก

         
          โรคลมชักไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงหากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที โดยทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม มีพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี คอยให้การดูแลตลอด 24 ชม. ให้ท่านได้มั่นใจได้ว่าบุคคลที่ท่านรักจะได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ   สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้