ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ปัจจุบันสังคมไทยมีผู้สูงอายุที่เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจำนวนมาก ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งญาติหรือผู้ดูแลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะน้ำตาลต่ำเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติและเป็นอันตราย มักทำให้เกิดอาการสั่นและอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และมักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ภาวะน้ำตาลต่ำ คือ
ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มก/ดล. ซึ่งจะมีสัญญาณที่พบบ่อยๆ คือ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฉุนเฉียวง่าย กังวล สายตาพร่ามัว หิวบ่อย อ่อนเพลีย ตัวสั่น โดยมักจะเกิดอาการกินอาหารน้อยไป หรือไม่ตรงเวลา กินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางชนิดเกินขนาด หรือฉีดยาอินซูลินมากเกินไป อาการกินอาหารน้อยไปหรือกินไม่ตรงเวลา กินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางชนิดเกินขนาด หรือฉีดยาอินซูลินมากเกินไปรวมถึงการออกกำลังกาย หรือการทำงานที่หักโหมเกินไปอาการของผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- รู้สึกร้อน เหงื่อออกง่าย กระสับกระส่าย มือสั่น คล้ายกับหิวอยู่ตลอดเวลา
- มีความกังวล สับสน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
- หัวใจเต้นแรงและเร็ว รู้สึกหวิวๆ คล้ายจะเป็นลม หน้ามืดง่ายกว่าปกติ
- มีอาการชาตามมือ เท้า และรอบปาก ตาพร่ามัว แต่ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลต่ำเป็นเวลานาน จะทำให้สมองขาดกลูโคส จะมีอาการรุนแรงขึ้น
- ตัวเย็นผิดปกติ เพราะอุณหภูมิร่างกายต่ำลงอันตรายมาก
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ค่อยตอบสนองต่อการกระทำใดๆ ไม่มีสมาธิ หลงลืม ง่วงซึมอยู่ตลอดเวลา
- หมดสติ ชัก หากมารักษาไม่ทัน อาจเป็นอัมพฤตครึ่งซีก จึงควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เกิดขึ้นได้ถ้าหากปล่อยให้เกิดอาการนานจนเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ เพราะสมองต้องการน้ำตาลเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ ควรสังเกตถึงสัญญาณและอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพื่อให้ทันท่วงที เพราะหากไม่ได้รักษาอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรง เช่น อาการชัก หมดสติ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น หากผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดอาการที่รุนแรงได้ และการเกิดภาวะดังกล่าวซ้ำซ้อน อาจทำให้ผู้ป่วยต้องใช้อินซูลินในปริมาณน้อยเพื่อควบคุมไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป อย่างไรก็ตาม หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปติดต่อกันระยะยาวก็ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้
การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ปฏิบัติตามแผนการรักษาตามที่แพทย์แนะนำไว้อย่างระมัดระวัง ทั้งการทานยา อาหาร และการออกกำลังกาย
- ตรวจสอบปริมาณยารักษาเบาหวาน และอินซูลินอย่างรอบคอบ
- หากดื่มแอลกอฮอล์ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง
- หมั่นตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอตามที่แพทย์แนะนำ
- พกสายรัดข้อมือ หรือ บัตรประจำตัว ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน
- บางรายแพทย์อาจแนะนำให้ติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลในร่างกาย (CGM) โดนเฉพาะผู้ที่มีน้ำตาลโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า
- ควรพกคาร์โบโฮเดรตเชิงเดี่ยวไว้กับตัว เช่น น้ำผลไม้ หรือกลูโคสแบบเม็ดหรือลูกอมที่มีน้ำตาล
หากคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลคุณให้ทราบ เพราะอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนี้สามารถทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690, 086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา




