โรคความดันโลหิตสูง

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  2950 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

         ปัจจุบันสามารถพบโรคความดันโลหิตสูงได้กับผู้สูงวัยเพราะฉะนั้นเมื่ออายุมากขึ้นความดันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โอกาสพบโรคความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุก็จะมากกว่าคนที่อายุน้อย รวมไปถึงคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วนก็จะทำให้แรงต้านทานของเส้นเลือดที่อยู่ในร่างกายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

         ส่วนใหญ่มากกว่า 90% ของคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 2-3 ปีแรกมักจะไม่มีอาการ เพราะฉะนั้นในช่วง 2-3 ปีแรกอาจจะกำลังอยู่ในภาวะโรคความดันโลหิตสูงโดยที่เราไม่ทราบมาก่อน แต่เมื่อความดันเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หรือมีภาวะแทรกซ้อนเราอาจจะเริ่มมีอาการ เช่น เริ่มปวดศีรษะบ่อยๆ เวียนศีรษะบ่อยๆ

          ความดันโลหิต คือ ค่าความค่าดันภายในหลอดเลือดแดง ที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจส่งผ่านไปหลอดเลือด เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย มี 2 ค่า คือ ความดันตัวบน (เป็นค่าขณะหัวใจบีบตัว) ความดันตัวล่าง (เป็นค่าขณะหัวใจคลายตัว)

โรคความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีความดันช่วงบนมีค่าตั้งแต่ 130 mmHg และความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 mmHg แต่ในผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรมีค่าต่ำกว่า 150/90 mmHg


อาการของโรคความดันโลหิตสูง

          โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ยังถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและไม่ชัดเจน หรือในบางรายทราบเมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันสูงขึ้นแล้ว ดังนั้นควรหมั่นมีการตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นฆาตกรเงียบ (Silent Killer) ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัว



ปัจจัยเสี่ยง

          ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันได้แก่ พันธุกรรม โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วน การสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องแอลกอฮอลล์ โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักไม่แสดงอาการใดๆ จึงเป็นภัยเงียบที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งต้องวัดความดันอย่างสม่ำเสมอมีส่วนน้อยที่อาจมีอาการตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ มักเป็นตอนตื่นนอนใหม่ๆ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะแบบไมเกรน แต่ในรายที่เป็นมานานหรือมีความดันโลหิตสูงมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ตามัว มือเท้าชา เลือดกำเดาไหล


ภาวะแทรกซ้อน

          เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานาน และดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง  ได้แก่ โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแดง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง ในบางรายอาจมีปัญหาหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต จนถึงขึ้นเสียชีวิต



การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

          การควบคุมความดันโลหิตในระยะยาวสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทั้งในเรื่องของการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นพื้นฐาน รวมไปถึงการหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อตรวจดูว่าความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ


การออกกำลังกาย 

          การออกกำลังกายแบบแอโรบิค จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมาก และต้องทำติดต่อกันเป็นเวลาค่อนข้างนาน ซึ่งจะมีผลให้ระบบการทำงานของหัวใจ ปอด หลอดเลือด และการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการทำงานดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน เรียกว่า เทรนนิ่ง เอฟเฟ็กต์ (training effect) หรือผลจากการฝึก




ข้อควรระวัง

          ผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ครบถ้วนและไม่หยุดยาเองแม้ความดันลดลงแล้วก็ตามหากมีผลข้างเคียงของยา ควรมาพบแพทย์ทันที



          เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากความชรา ทำให้มีการเสื่อมของหลอดเลือดแดง ส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็ง จนความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว เพิ่มสูงขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว จะเพิ่มสูงขึ้นตลอดชีวิต ส่วนความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว จะมีช่วงสูงสุด ในผู้ชายอายุ 60 ปี และผู้หญิงอายุ 70 ปีหลังจากนั้นความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวจะลดลง นอกจากนี้ผู้สูงอายุมัก มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ร่วมกับโรคความดันโลหิตจึงทำให้ต้องได้รับยาหลายชนิดในเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูงจึงต้องการการดูแลที่มากเป็นพิเศษ ดังนั้นการเลือกสถานที่และบุคลากรที่ได้มาตรฐานจึงสำคัญอย่างมากทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม จึงเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับทุกท่าน สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่
เบอร์ 099-4414690 ขอบคุณค่ะ

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้