โรคเกาต์

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  3490 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคเกาต์

โรคเกาต์


          โรคเกาต์พบได้บ่อยในคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งโรคเกาต์ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นการรู้ถึงอาการและวิธีการรับมือที่ถูกต้องจะช่วยลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้

          โรคเกาต์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบที่พบในผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน ซึ่งกรดยูริกที่สูงจะเกิดการตกตะกอนสะสมเป็นผลึกเกลือยูเรตตามเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะในข้อและบริเวณรอบข้อ และเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น จะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลันอย่างรุนแรง


อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาสามารถหายได้เองใน 5- 7 วันและส่วนใหญ่จะเป็นซ้ำๆ
  2. ระยะไม่มีอาการ หลังจากข้ออักเสบหายผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ
  3. ระยะเรื้อรัง ลักษณะจำเพาะ คือ พบข้ออักเสบหลายข้อแบบเรื้อรังร่วมกับการตรวจพบก้อนที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ หรือเรียกว่า โทฟัส (tophus) บางครั้งอาจแตกออกมาเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายชอล์ก ตำแหน่งที่พบโทฟัสได้บ่อยนอกจากบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า คือ ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และอาจพบที่ใบหูร่วมด้วย ในระยะนี้จะพบข้ออักเสบหลายข้อ และอาจมีไข้จากการอักเสบได้

การรักษาโรคเกาต์

  1. การรักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา

    1.1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเกาต์ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และเครื่องดื่ม
    1.2) การรักษาโรคร่วมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
    1.3) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

  2. การรักษาโดยการใช้ยา

               ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดียิ่งขึ้น

อาหารที่คนเป็นโรคเกาต์ควรงด

          อาหารที่ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่ 
  1. เห็ด 
  2.  เนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด  
  3. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด 
  4.  ไข่ปลา ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน 
  5. กุ้ง
  6.  ผักชะอม ผักกระถิน ผักสะเดา
  7.  กะปิ 
  8. น้ำต้มกระดูก 
  9. ซุปก้อน

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  2. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ไส้
  3. ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม น้ำหวาน เป็นต้น
  4. หยุดนวด ทายา ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณที่มีอาการอักเสบของข้อ
  5. แนะนำให้รักษาโรคร่วมที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน เป็นต้น
  6. รับประทานยาลดยูริกและยาป้องกันเกาต์กำเริบอย่างต่อเนื่องการขาดยาอาจทำให้โรคกำเริบได้
  7. ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์

  1. หากยังมีการอักเสบของข้อต่อ ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้การอักเสบนั้นหายช้าลง หรืออาจทำให้อาการแย่ไปกว่าเดิม 
  2. ควรหยุดพักจนกว่าการอักเสบจะหมดไป แล้วค่อยเริ่มออกกำลังกายต่อไปอย่างต่อเนื่อง 
  3. อย่าหักโหมออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เพราะจะไปกระตุ้นระดับกรดยูริคในร่างกายให้สูงขึ้น  ส่งผลให้อาการอักเสบกำเริบได้


           นอกจากการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร การใช้ยาในการรักษาหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์  ยังมีการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ช่วยลดอาการอับเสบของข้ออันเกิดจากโรคเกาต์ได้ ทำให้อาการเจ็บลดลง ลดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

          ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮมมีการดูแลครบวงจรโดยทีมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวิชาชีพ(แพทย์,พยาบาล,นักกายภาพบำบัด,นักโภชนาการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง)ให้เหมาะสมกับโรคของแต่ละบุคคล  สำหรับบุคคลที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690 ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม ยินดีให้บริการ

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้