โรคซึมเศร้า

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  2254 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

           ในปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้ามากถึง 10-20%  ส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว   ซึ่งภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่คนในครอบครัวไม่ควรมองข้ามเพราะอาจส่งผลถึงชีวิตได้เนื่องจากผู้มีภาวะซึมเศร้ามักไม่สนใจตนเอง ร่างกายจึงอ่อนแอลง เกิดโรคต่างๆได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อาจเสียชีวิตจากโรคอื่นๆ  หรือเกิดภาวะซึมเศร้าขั้นรุนแรงจนเลือกที่จะจบชีวิตตนเอง

          ภาวะซึมเศร้า (Depression) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก สิ้นหวัง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้รู้สึกว่าตนด้อยค่า แม้ว่าความรู้สึกเหล่านี้จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นบางครั้งแต่อาการของผู้ที่เป็นภาวะซึมเศร้ามีความรุมแรงและยาวนานมากกว่าจนถึงขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆของผู้ป่วย

          โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุประกอบกันจนพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้าได้แก่ การทำงานของสมองบางส่วนที่ผิดปกติหรือมีระดับของสารเคมีไม่สมดุลกัน ลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วยที่เอื้อต่อการเผชิญภาวะซึมเศร้าเหตุการณ์ตึงเครียดในชีวิต และการกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง รวมถึงอาการใช้ยารักษาโรคที่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงในลักษณะอาการซึมเศร้าได้

         ผู้เป็นโรคซึมเศร้ามักมีอาการต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ซึ่งอาการที่เป็นจะกระทบการทำงานการใช้  ชีวิตประจำวันส่วนมากจะเป็นเกือบทั้งวัน และทุกวัน

  1. รู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง และรู้สึกไร้ค่า
  2. ความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆลดลง
  3. เบื่ออาหารหรืออยากมากขึ้น
  4. นอนน้อยหรือนอนมากกว่าปกติ
  5. ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
  6. เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  7. เคลื่อนไหวช้าลง หรือ กระสับกระส่าย
  8. เก็บตัวและแยกตัวออกจากสังคมทำให้มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม
  9. มีความคิดหรือความพยายามฆ่าตัวตาย



ภาวะแทรกซ้อน     

          ภาวะทางจิตใจที่ย่ำแย่สามารถส่งผลในหลายๆด้านทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของร่างกาย เช่น เจ็บปวด ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาทางเพศ ปัญหาด้าน การนอนหลับ มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไปน้ำหนักเกิด และนำไปสู่โรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน


การป้องกันโรคซึมเศร้า

  1. อาหารให้ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  2. การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
  3. การทำสมาธิจากงานวิจัยพบว่าช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
  4. ฝึกคิดบวก เพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง
  5. การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150-300 นาที อาจเป็นการออกกำลังกายในระดับความหนัก เบา ปานกลาง เช่น การเดินเร็ว การรำมวยจีน การเต้นแอโรบิค เป็นต้น
  6. การเข้าสังคม พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลีกเลี่ยงการอยู่เพียงลำพัง



การมาอยู่ศูยน์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม ผู้สูงอายุจะมีเพื่อนวัยใกล้เคียงให้สามารถพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆให้ผู้สูงอายุได้คลายความเหงา  มีการออกกำลังกายโดยนักกายภาพบำบัด มีผู้ดูแลเรื่องอาหารและมีพยาบาลดูแลตลอด 24 ชม. สำหรับบุคคลที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้