ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้น โดยระยะแรกๆมักไม่มีอาการแสดงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็นโรค ดังนั้นการตรวจพบและรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยไม่ให้โรคไตมีอาการแย่ลง ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เป็นโรคไต เมื่อสังเกตพบอาการในระยะเริ่มต้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาทันที จะช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลงได้
ไต เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพมากๆ โดยไตมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบขับถ่ายทางเดินปัสสาวะ หากเกิดความผิดปกติจากไต หรือไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไตวาย อันตรายแก่ชีวิตได้
ในผู้สูงอายุไตจะเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้สามารถทำงานได้ลดลง ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ปกติ จนในที่สุด อาจเกิดการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย
โรคไต แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- โรคไตเฉียบพลัน – พบได้น้อยและมักรักษาหายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ
- โรคไตเรื้อรัง – พบได้สูงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
กลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต ควรได้รับการตรวจหาโรคไต- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพราะการทำงานของไตจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น
- ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ที่เป็นโรคไตอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคไตอักเสบ โรคเอสแอลอี โรคเกาต์ โรคไตอักเสบชนิดไม่ได้ติดเชื้อโรค
- ผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไตชนิดหนึ่ง
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หลายครั้ง
- ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกัน
สัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าคุณอาจเป็นโรคไต- ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเป็นโรคไต อาจเป็นเลือด สดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือ ปัสสาวะเป็นสีเหลือง
- การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะ ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
- คัน จากการระคายเคืองผิวหนังจากของเสียต่างๆ
- ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่อ รสชาติอาหารแปลกไป ทั้งนี้จากผลจากมีของเสียสะสมในร่างกาย
- คลื่นไส้ อาเจียน จากการสะสมของเสียเช่นกัน
- มีน้ำในร่างกายมาก เพราะไตขับออกไม่ได้ จึงเกิดอาการบวม
- ปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น
- มีก้อนบริเวณไตหรือบริเวณบั้นเอว 2 ข้าง อาจเป็นโรคไตเป็นถุงน้ำ การอุดตันของไตหรือเนื้องอกของไต
- ปวดหลังในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดบริเวณไต (บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงสุดท้าย)
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไต- ไตวาย - ภาวะกระดูกพรุน โลหิตจาง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง
- ไตอับเสบ - ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ กลายเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน เป็นต้น
- กรวยไตอักเสบ - ภาวะความดันโลหิตสูง เกิดแผลหรือฝีในไต ไตวายเฉียบพลัน หรืออาจเกิดกรวยไตอับเสบเรื้อรังได้
- นิ่วในไต - ท่อปัสสาวะอุดกั้นซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อหรืออาจมี ภาวะไตวาย
การป้องกัน- ควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก ทั้งยังเป็นการควบคุมความดัน
- ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- งดสูบบุหรี่
- ดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติมากๆ เพราะการดื่มน้ำไม่มีข้อห้ามใดๆ และดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำรุงไต ให้ทนทานต่อภาวะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
- หากเป็นเบาหวานก็ต้องคุมน้ำตาล
- หากเป็นโรคความดันสูงต้องคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ
- หากเกิดจากยาที่รับประทาน ก็ต้องหยุดยา
- ควบคุมยาที่มีผลกับไต เลี่ยงการกินยาที่เราไม่ทราบสรรพคุณหรือว่ากินยาที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะพวกยาแก้ปวด หรือ ยาสมุนไพรเป็นระยะเวลานาน
หากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงแล้ว ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อหาแนวทางในการรักษา
การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง และควรแจ้งแพทย์และเภสัชทุกครั้ง เกี่ยวกับรายการยารวม วิตามิน อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่ผู้ป่วยรับประทานในปัจจุบัน หากพบความผิดปกติเช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักเพิ่ม หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ แขนขาชา คันตามผิวหนัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะขัด ควรแจ้งแพทย์ทันที ด้านอาหาร ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายสะสมของเสียมากเกินไปอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง- อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยเค็ม อาหารจืดที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปังจากการใช้ผงชูรส
- อาหารที่มีโพแทสเซียม เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน
- อาหารที่มีฟอสฟอรัส เช่น รำข้าว เนยแข็ง ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู
- อาหารในหมู่โปรตีนบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคลอเลสเตอรอลมาก ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่
โรคไตเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งยังมีอันตรายถึงชีวิตได้หากปล่อยให้อาการเรื้อรัง ดังนั้นการดูแลผู้มีภาวะโรคไตจึงมีความสำคัญอย่างมาก และการรับประทานอาหารก็เป็นอีกวิธีการดูแลรักษาผู้มีภาวะโรคไตหรือช่วยป้องกันในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตได้ เช่น ในผู้สูงอายุ โดยทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม จะมีการดูแลด้านอาหารโดยนักโภชนาการ ซึ่งอาหารจะมีความจำเพาะต่อโรคหรือภาวะของผู้สูงอายุแต่ละคน ทำให้สามารถเลือกอาหารและดูแล ฟื้นฟูคนไข้โรคไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับบุคคลที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690 ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม ยินดีให้บริการ



ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690, 086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา




