โรคเบาหวาน

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  2081 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

          ในปัจจุบันประชากรมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับค่านิยมในเรื่องการรับประทานอาหารที่เน้นอาหารแปรรูปเพราะมีความสะดวกสบาย ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆขึ้น ซึ่งกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ  โดยเฉพาะโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย และปัจจุบันอัตราการเป็นโรคเบาหวานของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ  ซึ่งโรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของผู้สูงอายุ ดังนั้นเราจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา

          โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือด ให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก ค่าปกติของระดับน้ำตาลอยู่ที่ 60- 100 มก/ดล ถ้ามีค่ามากกว่า 126 มก/ดล ควรปรึกษาแพทย์ ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวานควรตรวจเลือด



อาการของโรคเบาหวาน

  1. ปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน
  2. กระหายน้ำ หิวบ่อย
  3. อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  4. ตามัวเห็นภาพไม่ชัด
  5. ชาปลายมือปลายเท้า


ภาวะแทรกซ้อน


          โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอ และร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หากขาดการควบคุมจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังได้ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในผู้ป่วยเบาหวานได้แก่ 

  1. ตา อาจมีจอตาเสื่อมทำให้ตาพร่ามัวขึ้นเรื่อยๆ จนตาบอด
  2. เท้า ทำให้มีอาการชาปลายเท้า เกิดแผลได้ง่าย
  3. ไต มักเสื่อม จะเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
  4. มีภาวะ Ketosis  จะมีอาการหิวน้ำมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลึก ลมหายใจมีกลิ่นเปรี้ยว
  5. ผนังหลอดเลือดแข็ง ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด
  6. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ


การป้องกัน

  1. เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต
  2. ระมัดระวังการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อาหารไขมันสูง เช่น ขนม น้ำหวาน โดยอาจดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาลแทนน้ำผลไม้ รับประทานโยเกิร์ตแบบไม่เติมน้ำตาล
  3. ผลไม้สด หรือถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นของว่างระหว่างวัน เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา ไก่ หรืออาหารทะเล แทนเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป
  4. ควรแบ่งมื้ออาหารหลักออกเป็นมื้อย่อย ๆ ในแต่ละวัน เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลิน
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด หัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหารประเภทแป้งและของหวาน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. ควบคุมน้ำหนัก
  4. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา
  5. กินยา และฉีดอินซูลินรักษาเบาหวานตามแผนการรักษาสม่ำเสมอ
  6. รักษาโรคอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนของโรค
  7. พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสม
  8. ตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินผลการควบคุมเบาหวานด้วยตนเองที่บ้าน
  9. หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ สุขภาพทั่วไปและสุขภาพเท้า
  10. เรียนรู้เรื่องโรคเบาหวาน และการดูแลรักษาตนเองในภาวะทั่วไป และในภาวะพิเศษ เช่น เมื่อเจ็บป่วย เมื่อเดินทาง หรือในงานเลี้ยง
  11. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  12. ควรพก ลูกอม ติดตัวเพื่อที่สามารถรับประทานเมื่อเกิดมีภาวะน้ำตาลต่ำ

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. อาหารที่ควรงด ได้แก่ น้ำตาล ขนมหวาน น้ำอัดลม นมข้นหวาน น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมากๆ ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ และงดอาหารที่มีไขมันสูง
  2. อาหารที่ควรเพิ่ม ได้แก่ อาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น วุ้นเส้น ข้าวกล้อง ฝรั่ง แก้วมังกร


การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวาน


          ควรออกกำลังอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ โดยมีระยะการออกกำลังกายอยู่ที่ 30-60 นาทีติดต่อกัน สามารถทำได้ทั้งการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน การรำไทเก๊ก หรือการเต้นแอโรบิค เป็นต้น

ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

         การออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้หลังจากออกกำลังกายโดนทันทีหรือหลังจากออกกำลังกาย 12-14 ชม. จึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำตาลหรือรับประทานอาหารก่อนออกกำลังกาย และไม่ควรออกกำลังกาย ก่อนเข้านอน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ในช่วงดึก กรณีจำเป็นต้องออกกำลังกายในช่วงเย็นหรือค่ำควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ



          หลังจากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายๆท่านอาจคิดว่าโรคเบาหวานเป็นโรคที่น่ากลัว  แต่ในความเป็นจริงแล้วหากปฏิบัติตามวิธีการป้องกันหรือ การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างครบถ้วนก็จะสามารถป้องและลดการลุกลามของโรคได้  โดยทางศูนย์ของเรามีบริการการดูแลที่ครอบคลุมทุกปัญหาของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมมาตรวจเยี่ยมถึงที่ศูนย์ สำหรับท่านที่สนใจ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 ยินดีให้บริการค่ะ 


 ปรึกษาปัญหา สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้