Last updated: 24 ต.ค. 2565 | 224 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคภูมิแพ้คืออะไร
โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายของเราที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ไวเกิน ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ไรฝุ่น ละอองเกสร ซึ่งในคนทั่วไปจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้ อาการของโรคอาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายระบบ มักจะเป็นเรื้อรัง ความรุนแรงมีตั้งแต่รบกวนชีวิตประจำวันเล็กน้อยไปจนถึงขั้นที่อันตรายถึงแก่ชีวิต
ภูมิแพ้ อาจเกิดจากพันธุกรรม หรืออาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม การได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นตัวกระตุ้น แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นจะดูแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดมีกระบวนการเกิดลักษณะเดียวกัน
โรคภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มโรคที่แสดงอาการได้ในหลายระบบของร่างกาย เช่น โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้อากาศ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้อาหาร ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมถึงผื่นลมพิษเรื้อรัง ซึ่งมีอาการแสดงแตกต่างกันไป คือ
ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือทำให้เกิดโรคหืด มีอาการไอ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด
ภูมิแพ้อาหารและยา ทำให้เกิดผื่นคันแบบลมพิษ หน้าบวม ปากบวม แน่นคอ แน่นหน้าอก เป็นลมหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ และมีโอกาสเสียชีวิตได้
ภูมิแพ้ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงคันเรื้อรัง ผิวแห้งลอก ส่วนใหญ่มักเป็นตามข้อพับแขนขาและลำคอ
ภูมิแพ้ตา ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา เคืองตา ตาแดง ขยี้ตาเยอะผอกปกติ ตาบวม
สาเหตุของโรคภูมิแพ้เกิดได้จากทั้งกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม
เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยพบว่า ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-70 ส่วนเด็กที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวเลย มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงร้อยละ 10
เกิดจากสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ เพราะสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา เกิดจากสภาพแวดล้อมซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร หรือการสัมผัสสารต่างๆ สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร วัชพืช ขนสุนัข ขนแมว แมลงสาบ เชื้อรา อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ แป้งสาลี อาหารทะเล
สารก่อภูมิแพ้บางอย่างสังเกตได้ยาก เพราะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เกสร เชื้อราในอากาศ หรือไรฝุ่นในบ้าน ซึ่งพบมากตามที่นอน หมอน โซฟา ห้องรับแขก พรม ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดของโรคภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้นหรือมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อากาศเย็น มลพิษในอากาศจากความควันรถ ควันโรงงาน อุตสาหกรรม ฝุ่นละอองตามท้องถนน ควันบุหรี่ และมลพิษทางอากาศ PM 2.5อีกด้วย
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยให้มีอาการเวลานานๆ อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก นอนกรน ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผิวหนังติดเชื้อ คออักเสบ ไอเรื้อรัง หูชั้นกลางอักเสบ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้ได้ง่าย หรือมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อากาศหนาว อาการเปลี่ยน หรือมลพิษในอากาศ
การรักษาภูมิแพ้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดของโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัย และจ่ายยาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมากอาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาพ่นจมูก
การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้นแพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะมีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิดรุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราว และหายได้หลังจากแพทย์ให้ยาแก้แพ้
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.paolohospital.com/th-th/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89
https://www.phyathai.com/article_detail/3409/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89_%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/608
https://www.sikarin.com/health/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89-%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9
24 ต.ค. 2565
31 ม.ค. 2563
24 ต.ค. 2565
24 ต.ค. 2565