สมุนไพร กระชายขาว

Last updated: 24 ต.ค. 2565  |  764 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สมุนไพร กระชายขาว

กระชายขาว ” หรือ กระชาย เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน และนิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งมีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เสริมสรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

ในเดือนมิถุนายน 2563 ทีมวิจัยของจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระชายขาว พบว่า ในกระชายขาว มีสารอยู่ 2 ตัว ที่มีฤทธิ์ต้านโควิด-19 สูงมาก โดยทีมวิจัยค้นพบว่ามีสารสกัดจากกระชายขาวที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ โดยสารสำคัญทั้ง 2 ตัวที่อยู่ในกระชายขาว คือ

Pandulatin A (แพนดูราทินเอ)
Pinostrobin (พิโนสโตรบิน)
ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยในหลอดทดลองพบว่า สารสกัดทั้งสองตัวนี้ในกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสต้นเหตุของโควิด-19 ได้ โดยสารทั้งสองตัวนี้สามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อจาก 100% ได้ถึง 0% เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งเซลล์ในการผลิตไวรัสได้ถึง 100% อีกด้วย

สรรพคุณกระชายขาว มีประโยชน์อะไรบ้าง?

กระชายขาวเป็นสมุนไพรภูมิปัญญาพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเหง้า, ราก, ใบ นิยมนำมาต้มดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยใส่มะนาว หรือน้ำผึ้งเพิ่มเติมลงไป เพื่อลดความขมของเหง้ากระชายขาวสด บ้างก็นำมาบดทำเป็นยาในทางแพทย์แผนไทย โดยมีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ดังนี้

จากผลการวิจัยในหลอดทดลอง กระชายขาว มีสาร พิโนสโตรบิน เเละ แพนดูราทินเอ ที่สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด  
รักษาโรคปากเปื่อย และปากเป็นแผล
รักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ไซนัสอักเสบ
ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใช้เป็นยาบำรุงร่างกายและชูกำลัง
บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
แก้อาการวิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก
ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ



ข้อควรรู้ก่อนกิน "กระชายขาว" ผลข้างเคียงที่ไม่ควรมองข้าม

แม้กระชายขาวจะมีสรรพคุณทางยา แต่หากกินติดต่อกันเป็นเวลานานในปริมาณเกินพอดี ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอาการร้อนใน แผลในปาก ปัญหาเหงือกร่น และภาวะใจสั่น เนื่องจากกระชายขาวเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนนั่นเอง หากกินเยอะเกินไปร่างกายอาจเสียสมดุลได้

อย่างไรก็ตาม หากจะกินกระชายขาวเพื่อรักษาโรค ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร และผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ไม่ควรกินกระชายขาว เพราะจะส่งผลต่อการทำงานของตับและไต



https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522

https://th.yanhee.net/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/kaempfer/

https://www.vejthani.com/th/2021/07/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%8A/

https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2157156

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้